My lovely blog

My lovely blog
I'm education english

This is my home town.

This is my home town.
I love sea.

Sunday, November 23, 2008

นิยามศัพท์ทางการวิจัยที่ควรทราบ

นักวิจัยต้องทำความเข้าใจความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ในการวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงานวิจัยที่ถูกต้อง
1.แนวคิด หมายถึง คำ วลี ที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก การตีความขึ้นกับความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่าน
2.ตัวแปร (Variables) หมายถึงสิ่งที่เปลี่ยนค่าได้เป็นหลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งสนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ และแจกแจงได้หลายค่า ในการทำวิจัย เมื่อนำแนวคิดมาระบุนิยามปฏิบัติการแล้ว จะกลายเป็นรูปของตัวแปร เช่นความเจ็บปวด มีการแปรค่าได้เป็น เจ็บน้อย ปานกลาง เจ็บมาก หรือให้ค่าเป็นตัวเลข 1 ถึง 3
3. ค่าสังเกต (Observation) หมายถึง ค่าที่วัดได้ของตัวแปร วัดได้จากตัวอย่างแต่ละหน่วย เช่น การศึกษาน้ำหนักแรกเกิดของทารกเพศหญิงจากการผสมเทียม น้ำหนักแต่ละคนที่วัดได้ เรียกว่าค่าสังเกต
4. ข้อมูล (data) หมายถึง ชุดของค่าสังเกตที่วัดได้ จากกลุ่มตัวอย่าง ชุดหนึ่ง ๆ เช่นการวิจัยมีตัวอย่าง 100 คน ค่าน้ำหนักแต่ละคน 100 คนที่วัดได้คือชุดของค่าสังเกต เรียกว่า ข้อมูล
5. หน่วยวิจัย (Subject) หมายถึง หน่วยเบื้องต้นมีลักษณะที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา อาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
6.ตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ลักษณะที่ผู้วิจัยศึกษา ได้มาจากการเลือกมาเพียงบางส่วนของประชากร
7. ประชากร (population) หมายถึง หน่วยทั้งหมดที่มีลักษณะที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษา จากงานวิจัยเรื่อง สำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารักษาที่หอผู้ป่วยหนัก ในโรงพยาบาลราชวิถี ประชากรคือ ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลราชวิถี
8.ประชากรเป้าหมาย (target population) หมายถึงประชากร ที่ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตหรือคุณสมบัติขึ้น
9.การเลือกตัวอย่าง (sampling) เป็นวิธีการเลือกบางส่วนของประชากรขึ้นมาศึกษา ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น กำหนดลงไปเลยว่าต้องการหน่วยใด ของประชากรบ้าง หรือใช้การจับฉลาก เป็นต้น
10.ตัวอย่างสุ่ม (random sampling) หมายถึงตัวอย่างที่ถูกเลือกมาจากประชากร โดยวิธีแต่ละหน่วยของประชากร มีโอกาสในการถูกเลือกเท่าเทียมกัน
11. สิ่งทดลอง (Treatment) หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทดลอง เพื่อเป็นการควบคุมหรือกำหนดค่าตัวแปรอิสระในการวิจัยทดลองหรือกึ่งทดลอง 12. ความเที่ยง (reliability) หมายถึง ระดับความสม่ำเสมอ หรือความคงที่ที่เครื่องมือวิจัยวัดค่าของสิ่งที่ต้องการวัด
13. ความตรง (Validity) หมายถึง ระดับความสมารถในการวัดที่เครื่องมือวิจัยจะวัดค่าของสิ่งต้องการได้ตรงความเป็นจริง
14. การสนทนากลุ่ม (Focus group) ประกอบด้วย
- ผู้นำกลุ่ม (Moderator)
-ผู้ช่วย (Assistant)
-ผู้จดบันทึก (Note taker)
15. การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group interview)

วิจัยคืออะไร

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เรื่องการทำวิจัยจาก อ.มะลิวัล ซึ่งเป็นผู้สอนรายวิชานี้ เเละบวกกับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องประเภท ความหมาย จรรยาบรรณ ขั้นตอนการทำวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เเละอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เเละนักศึกษาที่กำลังเรียนการทำวิจัย ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ความหมายของการวิจัย
การวิจัย
คือ การศึกษาค้นคว้า อย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหา หรือคำตอบการวิจัยที่กำหนด เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ ๆ ซึ่งการทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างมีระบบทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้ผลการศึกษาถูกต้องและเชื่อถือได้ และเผยแพร่งานวิจัยเพื่อให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือแก้ปัญหาต่อไป
การวิจัยหรืองานที่เป็นการวิจัยต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ

1. เป็นกระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
2. เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่มีระบบระเบียบ
3. เป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์ที่แน่นอน
นักวิจัย คือ ผู้ที่พยายามหาข้อเท็จจริงของธรรมชาติโดยใช้กระบวนการที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในสาขานั้น ๆ
จรรยาบรรณของนักวิจัย
1. การเคารพสิทธิ์ผู้ถูกวิจัย
2. ความซื่อสัตย์ในการดำเนินการวิจัย
1. ความซื่อสัตย์ในการดำเนินการวิจัย
นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยทุกขั้นตอนอย่างซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์การรายงานผลการวิจัย ต้องใช้ข้อมูลจริง ไม่สร้างข้อมูลที่เป็นเท็จ และรายงานผลการวิจัยทุกด้าน รวมทั้งข้อบกพร่องในการวิจัย เพื่อให้ผู้ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้จะได้ป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
2. การเคารพสิทธิของผู้ถูกวิจัย
2.1 การได้รับความเคารพในความเป็นบุคคล มีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง ในการเข้าร่วมการวิจัย ตลอดจนการถอนตัวจากการวิจัย
2.2 การได้รับความปลอดภัยจากอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย ทั้งด้าน กาย จิต สังคม จิตวิญญาณและเศรษฐกิจ
เกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมใดเป็นการวิจัย
- เกณฑ์ความสมบูรณ์ของกระบวนการ
- ความลึกซึ้งของการค้นคว้า
- ความใหม่ของความรู้ที่ได้
- ความถูกต้องเชื่อถือได้
ขั้นตอนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย
-การกำหนดปัญหาและขอบเขตปัญหา
-การทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การกำหนดจุดประสงค์การวิจัย
-การตั้งสมมติฐาน การกำหนดตัวแปร
-การออกแบบการวิจัย
-การเก็บรวบรวมข้อมูล การเตรียมข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูล
-การแปลผล
-การรายงานผลการวิจัยและการเผยแพร่
ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย
-การกำหนดปัญหาวิจัย
-การเตรียมการรวบรวมข้อมูล
-รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเข้าไปมีส่วนร่วมกับกับคนในชุมชนหรือสิ่งเเวดล้อมให้เสมือนกับเป็นคนใน
-การบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ
-การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
-การสรุปเขียนรายงานและเผยแพร่งานวิจัย
ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย
-กำหนดปัญหาการวิจัย
-การดำเนินตามขั้นตอนการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ / เชิงปริมาณ
-พัฒนาผลผลิตต้นแบบ
-ทดลองใช้ปรับปรุง
-ทดลองใช้ซ้ำ
-สรุปเผยแพร่

Saturday, November 22, 2008

วิธีใช้ comma

หน้าที่ของ comma
เครื่องหมาย comma เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการแบ่งใจความของประโยคสองส่วนที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะต่างกับการใช้เครื่องหมาย period หรือ full stop ที่จะทำการแยกใจความทั้งสองอย่างเด็ดขาด
หน้าที่หลักของ comma มีด้วยกัน 5 ประการคือ
1. แยกใจความของประโยคออกจากกัน
2. แยกส่วนขยายหรือข้อความที่สามารถละได้ออกจากประโยค
3. แยกของที่อยู่ใน series ออกจากกัน
4. แยก quote จากส่วนอื่นของประโยค อื่นๆ
แยกใจความของประโยคออกจากกัน
ตัวอย่างที่ถูก
The students completed their math test on Monday, and the teachers handed in the grades on Thursday.
comma ใช้แยก independent clause สองส่วนออกจากกันและวาง comma ไว้ข้างหน้า conjunction "and" ในบางครั้งเราอาจจะเห็นผู้เขียนไม่ใช้ comma ในตำแหน่งดัง
กล่าวโดยเฉพาะเมื่อประโยคทั้งสองเป็นประโยคที่สั้นก็สามารถอนุโลมให้ทำได้
ตัวอย่างที่ผิด
The students finished their tests, and went out for a break.
หากพิจารณาจะพบว่า "went out for a break" ไม่ได้เป็น clause เป็นเพียง phrase ดังนั้นเราจึงไม่ควรใช้ comma
แยกส่วนขยายหรือข้อความที่สามารถละได้ออกจากประโยค
สำหรับการแยกใจความที่ละได้ของประโยค (parenthetical element) นี้เรายังสามารถทำได้อีกถึง 3 วิธีแต่จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้คือ
1. Dan Smith (usually the top student in the class) got the highest results.[ใช้เครื่องหมายวงเล็บแสดงให้เห็นถึงว่าการเป็นนักเรียนเก่งของ Dan มีความน้อยมากสามารถอ่านข้ามได้เลย!]
2. Dan Smith ,usually the top student in the class, got the highest results.[การใช้ comma แสดงในเห็นว่าการเป็นนักเรียนดีของ Dan มีความเกี่ยวข้องกับประโยคหากแต่ไม่สำคัญที่สุด]
3. Dan Smith ― usually the top student in the class ― got the highest results.[การใช้ dash หรือขีดกลางแสดงให้ว่าใจความระหว่างขีดข้างต้นมีความสำคัญมาก]
แยกของที่อยู่ใน series ออกจากกัน
Dan's lifelong project is to be able to speak American English French German and Mandarin Chinese. ประโยคดังกล่าวใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง นี้คือตัวอย่างของประโยคที่มี series
เราควรใช้ comma หลังคำว่า English, French, German, and Mandarin Chinese
ไม่ควรวาง comma หลังคำว่า American ในที่นี้เพราะจะทำให้ American เป็นเหมือนอีก 1 ภาษาขึ้นมาในขณะที่เราต้องการจะสื่อสารเพียงว่าเป็นภาษา American
แยก quote จากส่วนอื่นของประโยค
วางเครื่องหมาย comma ไว้ก่อนหน้า quote และนอกเครื่องหมาย quotation mark ดังตัวอย่าง (โปรดสังเกตว่าเราใช้อักษรตัวใหญ่กับคำว่า We ใน quote)
The singer Madonna said, "We are living in a material world."
และเราจะวางเครื่องหมาย comma ไว้ภายใน quotation mark เมื่อ clause ตามหลัง ดังตัวอย่าง
"We are living in a material world," said the singer Madonna.

www.TOEFLTHAILAND.com

วิธีใช้คำว่า concern with กับ concern about

สองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน เรามาดูรายละเอียดดังนี้

concern with แปลว่า
1.เกี่ยวข้องกับ
2.พัวพันกับ
3.วุ่นอยู่กับ เราสามารถใช้คำว่า concern in แทนได้
ส่วนคำว่า...

concern about แปลว่า
1. สนใจเกี่ยวกับ
2. พุ่งความสนใจไปที่ และมีคำความหมายเช่นเดียวกันกับคำว่า concern over
ดูตัวอย่างการใช้ในประโยคกับสถานการณ์ข่าว

เมื่อประเทศอิร่านประกาศที่จะทดลองการส่งจรวดเพื่อนำดาวเทียมขึ้นวงโคจร ทางประเทศอเมริกาจึงเกิดความกังวลและไม่พอใจมาก
Headline ของข่าวคือ

Iran sparks US concern with satellite rocket launch.
แปลว่า การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการส่งจรวดของประเทศอิร่านทำให้(เจ้าหน้าที่)ประเทศอเมริกาลุกเป็นไฟ

หากเราต้องการใช้คำว่า concern about ก็จะได้ประโยคดังนี้
Now, the US is concerning about Iran's rocket launch.
ประเทศอเมริกากำลังพุ่งความสนใจไปที่การทดสอบส่งจรวดของอิร่าน
http://www.toeflthailand.com/

วิธีใช้คำว่า "so"

So มีความหมาย หรือมีหลักการใช้อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นคำที่เรามักใช้กันผิดพอสมควร ดังนั้นหลังจากอ่านเเละเข้าใจเเล้วก็ได้นำมาสรุปเป็นความรู้ให้กับผู้อ่านดังนี้
คำว่า "so" สามารถใช้เป็นได้ทั้ง adv. และ conj.
หาก so เป็น adv. จะแปลว่า "ดังนั้น", "เช่นนั้น", "เช่นนี้", และ "เต็มที่"
ตัวอย่างเช่น
This tastes so good! แปลว่า "อันนี้มันรสชาติอร่อยมากเลย"

so ทำหน้าที่เป็น adv. ขยาย adj. คำว่า "good" จึงทำให้รสชาติมันอร่อยแบบเต็มที่

หาก so เป็น conj. หรือตัวเชื่อมประโยคจะแปลว่า "ซะจนกระทั่ง", "ดังนั้น" หรือ "เพื่อว่า" หากเทียบเป็นคำภาษาอังกฤษจะมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "therefore" แต่ therefore จะเป็น transition ในขณะที่ so เป็น conj.


ตัวอย่างเช่น

He was tired, so he went directly to bed.
เค้าเหนื่อยซะจนกระทั่งเค้าเข้านอนเลย เราสามารถใช้คำว่า therefore แทนได้เลยและสามารถเขียนประโยคได้ดังนี้

"He was tired. Therefore, he went directly to bed."

หรือ

"He was tired; therefore, he went directly to bed." ก็ได้ทั้งสองประโยค

ตัวอย่างคำหรือสำนวนที่ใช้กับคำว่า so
so bad one can taste it = แย่มาก
so far = จนถึงทุกวันนี้, จนกระทั่งปัจจุบัน, จนเดี๋ยวนี้
so long = ลาก่อน, คำกล่าวอำลา
so much = อย่างมาก
so quiet you could hear a pin drop = เงียบมาก
so to speak = จะว่าไปแล้ว, จะพูดเช่นนั้นก้ได้, จะให้เป็นเช่นนั้นก็ได้
"So long, farewell"ขอกล่าวคำอำลาว่า

Saturday, November 15, 2008

My special teaching

Today 8.00 in the morning I go to Wat Pramahathat to teah

Tuesday, November 11, 2008

วิธีใช้ who, that, และ which - เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?

who ใช้แทนคน
which ใช้แทนสิ่งของ
that ใช้แทนได้ทั้งคนและสิ่งของ
ตัวอย่างที่1
(A) I thanked the man who assisted me.
(B) I thanked the man that assisted me.
ประโยค (A) และ (B) มีความหมายเดียวกัน แต่เมื่อแทนคนจะนิยมใช้ who มากกว่า that
ตัวอย่างที่2
(A) The report which is on the desk is mine.
(B) The report that is on the desk is mine.
ประโยค (A) และ (B) มีความหมายเดียวกันแต่เมื่อแทนสิ่งของจะนิยมใช้ that มากกว่า which