My lovely blog

My lovely blog
I'm education english

This is my home town.

This is my home town.
I love sea.

Wednesday, October 8, 2008

กลวิธีการอ่านหารายละเอียด ( Scanning )เเละการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ(Skimming)

การอ่านเป็นทักษะ1ใน4ที่มีความสำคัญเเละจำเป็นอย่างมากในการฝึกฝนตนเองให้มีความรอบรู้เเละทันต่อเหตุการณ์ดังนั้นก่อนที่เราจะอ่านเเละละครั้งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการอ่านเราก็จะต้องรู้จุดประสงค์ในการอ่านของตนเองว่าอ่านเพื่ออะไรเพื่อที่จะได้เลือกวธีการอ่านที่ถูกต้องเเละเหมาะสมกับเวลาเเละจุดมุ่งหมายที่เราต้องการ
การอ่านโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตหรือสื่อต่างๆที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ การถามตัวเองว่าอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร (Topic) มีสาระสำคัญอะไรบ้าง (Main Idea) และหากสนใจในเรื่องก็ต้องอ่านต่อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด (Details) และมีประโยชน์หลายประการ คือ
1. เข้าใจรายละเอียด จะช่วยให้เราได้เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ความเข้าใจจะทำให้เราสามารถอ่านข้อความง่ายขึ้น
3. รายละเอียดจะช่วยให้เรามองว่ารูปแบบที่ผู้เขียนนำเสนอว่าเป็นอย่างไร รูปแบบใด ซึ่งได้แก่ การลำดับเหตุการณ์ เป็นเหตุเป็นผลกัน และเป็นขั้นตอน เป็นต้น
4. สิ่งสำคัญ คือ ข้อสอบที่ถามมักถามเกี่ยวกับรายละเอียดเป็นส่วนใหญ่ และหากเข้าใจในรายละเอียดก็จะทำให้สามารถทำคะแนนในการสอบได้ดี
จะเห็นได้ว่า การเข้าใจในรายละเอียดเเละการจับใจความสำคัญของสิ่งที่อ่านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นที่เราจะต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะ ดังนี้
1.กลวิธีการอ่านเพื่อหารายละเอียด (Scanning) คือ การอ่านข้อความอย่างรวดเร็วเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ โดยที่เราจะค้นหาคำตอบตามที่ตนเองสงสัย และสนใจคำหรือกลุ่มคำที่จะช่วยให้ตอบคำถามนั้นได้ โดยที่นักเรียนอาจละเลยข้อความที่เกี่ยวข้อง เมื่อนักเรียนพบคำตอบที่ถูกต้องแล้วก็จะอ่านอย่างถี่ถ้วนระมัดระวังเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ในการอ่านเพื่อหารายละเอียด (Scanning) สิ่งที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ ไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจความหมายของศัพท์ทุกคำเพราะเราต้องการแค่ข้อมูลบางอย่างเท่านั้นมิใช่ทั้งหมด หกเราพบสิ่งที่ต้องการแล้วก็ถือว่าการใช้เทคนิคนี้ประสบผลสำเร็จตามที่คาด ส่วนมากเรามักจะใช้กลวิธีนี้เมื่อต้องการหาคำตอบที่ต้องการโดยมุ่งไปสิ่งที่สงสัย ซึ่งโดยทั่วไปเรามักจะแสกนสิ่งที่ต้องการในชีวิตประจำวัน เช่น การหาตารางรายการทีวี หาหมายเลขโทรศัพท์ อ่านโฆษณาในหนังสือหรือสื่อต่างๆ อ่านไปรษณียบัตร การหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ขั้นตอนในการอ่านแบบหารายละเอียด (Scanning) มีดังต่อไปนี้
1. ไม่ต้องพยายามที่จะอ่านคำศัพท์ที่พบทุกคำ
2. กระโดดข้ามบางคำที่ไม่จำเป็น
3. ใช้ Key word and Phrases (คำหรือกลุ่มคำที่สำคัญ) ในโจทย์หรือที่กำหนดในการหาข้อมูล
2. กลวิธีการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ (Skimming)
การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ คือ การอ่านอย่างคร่าวๆ (Skimming) เป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว (reading with fingers) การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
การอ่านวิธีนี้จะไม่อ่านทุกคำหรือทุกประโยค แต่จะจับเฉพาะสำคัญ (key word) ที่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
1. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือ สองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มีความสำคัญในประโยค จะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
2. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริง การพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรส วิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไป ซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
3. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆ แล้วเริ่มต้นอ่านประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่าน ขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลา คืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
4. อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้น และอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
5. อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอน หรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้ บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
6. อ่าน Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ โดย
Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และ ส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
สรุปขั้นตอนโดยย่อ คือ
1. อ่านหัวเรื่อง – ถ้ามี
2. อ่านย่อหน้าแรกอย่ารวดเร็ว เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
3. อ่านประโยคแรกทุกย่อหน้าที่เหลือ เพื่อจับใจความสำคัญของย่อหน้านั้น
4. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็ว
5. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ ให้ดี เพราะมัน จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ

ดังนั้นก่อนที่เราจะอ่านเเละละครั้งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการอ่านเราก็จะต้องรู้จุดประสงค์ในการอ่านของตนเองว่าอ่านเพื่ออะไรเพื่อที่จะได้เลือกวธีการอ่านที่ถูกต้องเเละเหมาะสมกับเวลาเเละจุดมุ่งหมายที่เราต้องการ

No comments: