My lovely blog

My lovely blog
I'm education english

This is my home town.

This is my home town.
I love sea.

Friday, August 22, 2008

ลีลาการเรียนรู้( Learning Style)

ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style)
โลกยุคนี้เป็นยุคของความรู้และข้อมูลข่าวสาร ผู้ใดมีความรู้และข้อมูลมากกว่าย่อมได้เปรียบกว่า ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่เป็นความรู้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และทุก ๆ 5 ปีข้อมูลข่าวสารจะทวีขึ้นเป็น 2 เท่า นอกจากนี้ยังไม่มีใครสามารถสอนความรู้ที่มีอยู่ในโลกนี้ให้แก่เราได้ทั้งหมด โรงเรียนจึงควรเตรียมเด็ก ๆ และเยาวชนให้รู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง เพื่อมิให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นกลายเป็นคนล้าหลัง และก้าวตามโลกไม่ทันภายหลังจากออกจากโรงเรียนแล้ว การสอนให้เด็กเรียนรู้วิธีเรียนที่ถูกต้อง (Learn how to learn) จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยครูต้องเข้าใจและตระหนักเป็นอันดับแรกว่า เด็กแต่ละคนมีลีลาหรือรูปแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ครูที่สามารถรู้ว่าเด็กแต่ละคนในชั้นมีรูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบใดจะประสบความสำเร็จในการส่งผ่านความรู้ไปยังนักเรียน ทำให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถมากที่สุด(รศ.มัณฑรา ธรรมบุศย์)
มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง คือ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual percepters) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory percepters) และ การรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic percepters) ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นลีลาการเรียนรู้ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ผู้เรียนแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน
1) ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพ แผนภูมิ แผนผังหรือจากเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราว เวลาจะนึกถึงเหตุการณ์ใด ก็จะนึกถึงภาพลักษณะของคำพูดที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้ เช่น “ฉันเห็น” หรือ “ฉันเห็นเป็นภาพ…..” พวก Visual learner จะเรียนได้ดีถ้าครูบรรยายเป็นเรื่องราว และทำข้อสอบได้ดีถ้าครูออกข้อสอบในลักษณะที่ผูกเป็นเรื่องราว

2) ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าได้ฟังหรือได้พูด จะไม่สนใจรูปภาพ แต่ชอบฟังเรื่องราวซ้ำ ๆ และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง คุณลักษณะพิเศษของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีทักษะในการได้ยิน/ได้ฟังที่เหนือกว่าคนอื่น ดังนั้นจึงสามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดละออ และรู้จักเลือกใช้คำพูดผู้เรียนที่เป็น Auditory learner จะจดจำความรู้ได้ดีถ้าครูพูดให้ฟัง หากครูถามให้ตอบ ก็จะสามารถตอบได้ทันที ในด้านการคิด มักจะคิดเป็นคำพูด และชอบพูดว่า “ฉันได้ยินมาว่า……../ ฉันได้ฟังมาเหมือนกับว่า……”

3) ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic learner) เป็นพวกที่เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย จึงสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน เวลานั่งในห้องเรียนจะนั่งแบบอยู่ไม่สุข นั่งไม่ติดที่ ไม่สนใจบทเรียน และไม่สามารถทำใจให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนเป็นเวลานาน ๆ ครูสามารถสังเกตบุคลิกภาพของเด็กที่เป็น Kinesthetic learner ได้จากคำพูดที่ว่า “ฉันรู้สึกว่า……” พวกที่เป็น Kinesthetic learner จะไม่ค่อยมีโอกาสเป็นพวก Visual learner จึงเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากหากครูผู้สอนให้ออกไปยืนเล่าเรื่องต่าง ๆ หน้าชั้นเรียน หรือให้รายงานความรู้ที่ต้องนำมาจัดเรียบเรียงใหม่อย่างเป็นระบบระเบียบ เพราะไม่สามารถจะทำได้ ครูจึงควรช่วยเหลือพวก Kinesthetic learner ให้เรียนรู้ได้มากขึ้น โดยการให้แสดงออกหรือให้ปฏิบัติจริง เช่น ให้เล่นละคร แสดงบทบาทสมมติ สาธิต ทำการทดลอง หรือให้พูดประกอบการแสดงท่าทาง

ดังนั้นแม้ว่าเด็กแต่ละคนจะมีลีลาการเรียนรู้เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่มีผู้เรียนคนใดที่ใช้ลีลาการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะใช้หลาย ๆ แบบผสมผสานกัน โดยลีลาที่ตนถนัดที่สุดจะถูกใช้มากกว่ารูปแบบอื่น นอกจากไม่มีใครที่สามารถจะจำสิ่งที่ตนได้ได้ฟังหรือได้ยิน พบเห็น ไว้ในสมองของตนอยู่ได้ตลอดเวลา แต่ทุกคนจะจดจำได้ดีที่สุดเมื่อได้ลงมือกระทำสิ่งนั้นๆด้วยตนเองดังนั้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเเต่ละครั้งครูควรให้เด็กทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วยตนเองให้มากที่สุด

No comments: