My lovely blog

My lovely blog
I'm education english

This is my home town.

This is my home town.
I love sea.

Friday, August 22, 2008

เทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนพูดในชั้นเรียนระดับต่างๆ




เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skill)
การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน
Erase the dialogue
(ลบบทสนทนา)
ระดับผู้เรียน : นร.ชั้นมัธยมต้น
สื่อการเรียนรู้
1. แผ่นชาร์ตบทสนทนา( dialogue)
2. ใบความรู้( dialogue)
3. ของรางวัลเช่น สติ๊กเกอร์
4. แบบประเมินการพูด
กิจกรรมการเรียนการสอน
ครูให้นักเรียนเล่นเกมส์ทดสอบความจำ 3 ขั้น คือ ( มีกฎอยู่ว่าห้ามจดบันทึกไว้ )
ขั้นที่1: ครูปิด/ลบ ( ในกรณีถ้าเขียน ) คำศัพท์บางคำทีละบรรทัด เช่น'What are you doing this evening?ครูปิด/ลบคำว่า “What ” ให้นักเรียนยกมือตอบ ใครตอบถูกก่อนจะได้สะสมคำละ1แต้ม ครูแจกกระดาษให้นักเรียนประเมินตนเอง โดยเมื่อตอบตอบถูกครูจะเดินไปติดสติกเกอร์ให้ 1 แต้ม (ในกระดาษประเมินตนเองของนร. )
ขั้นที่2: ครูให้นักเรียนหา partner จากนั้นครูปิด/ลบ ทีละประโยค นักเรียนคู่ใดยกมือขึ้น
ก่อนและตอบถูก จะได้แต้มอีกคู่ละ 1 แต้ม ( ครูให้ใบประเมินคู่ละ 1 ใบอีก คู่ใดตอบถูกก็จะ
ได้สะสมครั้งละ 1 แต้มเช่นเดิม )
ขั้นที่3: ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 – 4 คนครูดึงแผ่นช๊าตบทสนทนาออทั้งหมด จากนั้น ครูให้กระดาษเปล่ากลุ่มละ 1 ใบ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนบทสนทนาที่สมบูรณ์ขึ้นมา อีกครั้ง ครูให้เวลา 5 นาที ( ครูให้ใบประเมินกลุ่ม โดยเมื่อนักเรียนกลุ่มใดสามารถจำบทสนทนา ทั้งหมดจะได้แต้ม 3 แต้ม จำได้ไม่หมดก็จะลดลงเป็น 2 จนถึง 1 ตามลำดับ )
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ครูควรมอบรางวัลแก่นักเรียนที่ได้แต้มมากที่สุดเรียงตามลำดับกิจกรรม 1-3
( โดยดูจากใบประเมินคะแนนที่ครูเก็บจากนักเรียน ) พร้อมทั้งครูแจกใบความรู้ที่1ให้นักเรียนฝึกกันถาม-ตอบบทสนทนากับpartner
Story in a bag
( เรื่องราวในกระเป๋า)

ระดับผู้เรียน
: นร.ชั้นมัธยมต้น
ขั้นเตรียม
ก่อนเรียนครูวัตถุประสงค์กระดาษลงในกระเป๋า 5 – 6 ข้อความซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ ที่จะสุ่มใช้ในการสอน โดยใช้กระเป๋า 1 ใบกับนักเรียน 4 กลุ่ม ให้นักเรียนคิดกิจกรรมที่น่าสนใจขึ้นมา ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ครูกำหนดให้ ซึ่งวัตถุประสงค์ควรจะมีความหลากหลาย ผู้อื่นไม่สามารถจะเดาได้ เป็นการรวมสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นรูปธรรมเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง สิ่งของในกระเป๋า ได้แก่
1.ไปรษณียบัตรจากสิงคโปร์ 2. ที่เปิดฝาภาชนะ
3. เทียนไข 4.หน้ากากศัลยกรรม
5.ใบปลิวละครตุ๊กตาหมี
กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนแต่ละกลุ่มเปิดกระเป๋า อ่านวัตถุประสงค์ที่กำหนดและคิดค้นเรื่องขึ้นจากวัตถุประสงค์ทั้งหมดในกระเป๋าที่ครูกำหนดให้ ซึ่งเรื่องของนักเรียนแต่ละเรื่องจะกลายมาเป็นเรื่องที่มีความซ้ำซ้อนและสร้างสรรค์ ตามวัตถุประสงค์แต่ละขั้นตอนที่ครูกำหนดให้
ตัวอย่างของวัตถุประสงค์ข้างต้น
ในตอนเช้าของวันหนึ่ง Shelley ได้รับไปรษณียบัตรของเพื่อนเก่าจากวิทยาลัย เธอมีชื่อว่า Louise ไปรษณียบัตรนั้นเป็นไปรษณียบัตรจากประเทศสิงคโปร์ และข้อความภายในนั้น Louise ได้เขียนชวน Shelly ให้ไปประเทศสิงคโปร์ Shellyบินไปประเทศสิงคโปร์เพื่อพบกับ Louise ในคืนแรกพวกเขาไปดูละครท้องถิ่นที่เป็นเรื่องของการฆาตกรรม ความลี้ลับ หลังจากที่ละครท้องถิ่นเรื่องนั้นจบ Louiseมีความรู้สึกกลัวไม่กล้าที่จะเดินกลับบ้านของเธอคนเดียว ดังนั้นShellyจึงไปส่งเธอที่บ้าน เมื่อพวกเขาไปถึงบ้าน Louise ก็พยายามที่จะเปิดไฟ แต่เผอิญว่า ไฟฟ้าดับ เธอจึงจุดเทียนให้สว่างแทน
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ครูสร้างสถานการณ์ ให้มีความเงียบสงบ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ครูคนหนึ่งไปพบศพที่ข้างโต๊ะ ซึ่งเป็นศพของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้ซึ่งถูกขโมยเพชรจากหัวเตียงนอนของเธอ
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ภายในกระเป๋าของพวกเขา อันเป็นเบาะแสของอาชญากรรมที่สามารถทราบได้จากการสอบสวน รายละเอียดของแต่ละกลุ่มจะเกี่ยวกับเรื่องของอาชญากรรม พร้อมทั้งยกตัวอย่าง

Why didn’t you come to the party
(ทำไมคุณไม่มาร่วมงานเลี้ยง)
กิจกรรมการพูดนี้ใช้สำหรับผู้เรียนในระดับสูงประกอบกับการทำงานของนักเรียนเป็นคู่เพื่อทำการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด
ระดับนักเรียน ใช้สอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่4)
สื่อการเรียนรู้
- ภาพงานเลี้ยง
- รูปถ่ายแขกที่มาร่วมในงานเลี้ยง
- บัตรคำ
- แถบประโยค
- สื่อของจริง ได้แก่ อาหาร กล่องของขวัญ ฯลฯ
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยไปงานเลี้ยงไหม ถ้าพวกเขาเคยไปให้พวกเขาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันภายในห้องเรียน
2. ให้นักเรียนทบทวนความจำของตนเองเกี่ยวกับงานเลี้ยงที่ผ่านมาว่า มีแขกคนใดบ้างมาร่วมในงานเลี้ยง
3. แยกนักเรียนในห้องออกเป็น 2 ส่วน ให้นักเรียน A เป็นส่วนของผู้ที่มาร่วมในงานเลี้ยงและนักเรียน B เป็นส่วนของผู้ที่ไม่ได้มาร่วมในงานเลี้ยง
4. นักเรียน B คนใดที่ไม่ได้มาร่วมงานเลี้ยง ให้เตรียมคำแก้ตัวของพวกเขาแก่นักเรียนA
5. นักเรียน A บอกรายชื่อผู้ที่มาร่วมงานเลี้ยงและผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงานเลี้ยง พร้อมทั้งถามนักเรียนB เพื่อค้นหาเหตุผลที่ไม่ได้มาร่วมงานเลี้ยง
6. ให้นักเรียนB บอกคำแก้ตัวของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุดให้นักเรียน A ฟัง
7. ให้นักเรียน B และนักเรียน A เปลี่ยนคู่กันสนทนาเกี่ยวกับงานเลี้ยง
หมายเหตุ
1. ถ้าครูใช้กิจกรรมนี้สอนนักเรียนในระดับนี้ คุณจะสามารถนำเสนอโครงสร้างใหม่ได้ อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น “had to” หรือ “was /were” นั้น นักเรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
2. คุณสามารถทำกิจกรรมได้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับเวลา และความยาวของกิจกรรม.
Dating game
เกมส์นี้เป็นกิจกรรมที่ดีที่ให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับการพูดอย่างสมบูรณ์ด้วยระดับที่แตกต่างหลากหลายและเน้นกระบวนการกลุ่ม มันทำให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหวและส่งผลเกี่ยวกับการพูด ใช้ประโยชน์อย่างละเอียดเกี่ยวกับการบรรยาย การปฏิบัติ ลักษณะท่าทาง ตัวละคร และสิ่งที่สนใจ
ระดับนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น( ช่วงชั้นที่3)
สื่อ/อุปกรณ์
- บัตรรูปภาพเกี่ยวกับคน
- นิตยสาร
- หนังสือพิมพ์
กิจกรรมการเรียนการสอน
1) ขั้นนำ
ให้เลือกบัตรรูปภาพเกี่ยวกับคน ถาม-ตอบเกี่ยวกับอายุและประเภทของบุคคล
2) ขั้นปฏิบัติ
2.1) ติดรูปภาพของคนบนกระดานแล้วถามนักเรียนเกี่ยวกับชื่อ อายุ และอาชีพของบุคคลนั้น หลังจากนั้นเขียนที่นักเรียนบอกในกระดานอีกครั้ง
2.2)ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับร่างกายของบุคคลนั้นๆ หลังจากนั้นให้นักเรียนบอกตัวละครและงานอดิเรกของบุคคลอีกครั้ง
2.3)อ่านคำอธิบายของแต่ละบุคคล และให้นักเรียนพูดว่าต้องการพบผู้หญิงหรือผู้ชาย
2.4) ต่อมาให้บรรยายเกี่ยวกับบุคคลว่าชอบหรือไม่ ตอนสุดท้ายให้นักเรียนบรรยาย 2 ลักษณะ
2.5)ให้นักเรียนดูชนิดของการบรรยายในนิตยสารและหนังสือพิมพ์
2.6)ให้นักเรียนพูดเกี่ยวกับรูปภาพ โดยไม่โชว์รูปภาพ หลังจากนั้นนักเรียนเขียนบรรยายบุคคลในรูปภาพและมีคะแนนให้เพื่อนที่นำเสนอ โดยที่นักเรียนสามารถใช้รูปแบบในกระดานเป็นแนวทาง ตรวจสอบ และเข้าใจถึงการใช้ภาษาได้
2.7)ให้นักเรียนวางรูปภาพ โดยคว่ำไว้บนโต๊ะและรวมกัน เป้าหมายก็คือ ต้องการให้นักเรียนมีความพยายามเพื่อหาคู่ของนักเรียนเองระหว่างการใช้คำบรรยายบุคคลกับรูปภาพของบุคคล ซึ่งครู อาจใช้เพลงโรแมนติกเปิดบรรเลงไปด้วยในขณะที่สอนเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ ให้นักเรียนมีความอยากเรียนมากยิ่งขึ้น
2.8)หลังจากที่นักเรียนใช้เวลาพอสมควรในการหาคู่แล้วให้นักเรียนหยุดกิจกรรมก่อน แล้วมานั่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำกิจกรรมร่วมกัน หลังจากนั้นให้นักเรียนประดิษฐ์ตัวละครกับคู่ของนักเรียน
3) สิ่งที่ควรเพิ่มเติม
นักเรียนสามารถเขียนเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกันและสามารถเขียนจดหมายถึงเพื่อนใหม่ได้
4) กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสามารถเปลี่ยนข้อความ/ บทความและสามารถแทนที่รูปภาพของคนให้เป็นรูปภาพของบ้าน หลังจากนั้นครูก็ถามนักเรียนเกี่ยวกับทรัพย์สิน นักเรียนสามารถเขียนบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ที่ต้องการซื้อและขาย สุดท้ายนักเรียนบรรยายถึงบ้านในฝันได้

Getting teenagers talking
ระดับนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย( ช่วงชั้นที่ 3, 4 )
สื่อ/อุปกรณ์
- ของรางวัลเช่น ผลไม้ ขนม คุ้กกี้ ดินสอ
- วีดีโอ
- รูปกิ่งไม้
กิจกรรมการเรียนการสอน
มี 2 แนวทางที่ครูควรส่งเสริมให้วัยรุ่นได้ใช้ภาษาอังกฤษภายในห้องเรียนให้มากที่สุด
1) การรับสินบน
กลอุบายในหนังสือ- ความคิดพื้นฐาน/ง่ายๆ คือการมีรางวัลเล็กๆน้อยๆให้กับนักเรียน เมื่อนักเรียนพูดภาษาอังกฤษได้พอสมควร ครูอาจจะให้นักเรียนฝึกพูดให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อที่ครูจะได้ทำการประเมินความคืบหน้าของนักเรียนได้
ตัวอย่างรางวัลที่ครูควรนำมาใช้ในการเสริมแรง
- ผลไม้เล็กๆสามารถทำให้ประหลาดใจได้
- ขนมและคุกกี้เป็นสิ่งที่น่าประทับใจ
- ดินสอและยางลบสามารถใช้ในงานอื่นได้
- คะแนนหรือการมอบรางวัลในคาบ หากนักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี หลังจากนั้นครูอาจจะให้นักเรียนดู วีดีโอ 10 นาที, ฟังเพลงและเล่นเกมส์ภาษาอังกฤษโดยให้นักเรียนเลือกเอง
2) การทายตัวอักษรระหว่าง 2 คน
เป็นแนวทางอีกอย่างหนึ่งในการให้คะแนนการพูดภาษาอังกฤษแก่นักเรียน กิจกรรมนี้สามารถช่วยให้ครูได้รู้ว่านักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด
-บางเวลาที่นักเรียนทำผิด นักเรียนไม่เข้าใจ ครูจะชี้แนะโดยใช้รูปแบบของสื่อ เป็นรูปกิ่งไม้ชี้แจงเกี่ยวกับการทายตัวอักษรระหว่างคน 2 คน
-ถ้ากิจกรรมนี้สมบูรณ์แต่นักเรียนไม่พร้อม พวกเขาจะจัดการกิจกรรมเอง
- การใช้เทคนิคนี้อย่างละเอียดรอบคอบจะคำนึงถึงผลที่ตามมาเสมอ
3) สิ่งที่เพิ่มเติมในเวลาพัก
3.1 เป็นเวลาที่ใช้กิจกรรมในการต่อรองราคาเวลาซื้อของ เป็นการเริ่มต้นของคาบนี้ ใช้เวลา 5 นาที นักเรียนพูดโดยใช้ภาษาของตัวเขาเอง อย่างไรก็ตามถ้าเขาใช้เวลามากเกินไป คาบต่อไปเวลาเรียนจะลดลง แต่พวกเขาได้ใช้ทักษะพูดอย่างเต็มที่
3.2 ครูต้องเพิ่มเวลาออกไปอีก แล้วแต่ครูกำหนด แต่ถ้ามันตรงประเด็นก็จำเป็นต้องเพิ่มเวลา
3.3 แนวทางอื่นๆ อาจใช้เทคนิคนี้ให้เขาใช้เวลาอย่างเต็มที่ เขาสร้างเรื่องจริงขึ้นมาได้โดยใช้ภาษาอังกฤษในการพูด
3.4 ครูอาจจะเช็คคะแนนไว้ในกระดาน เพื่อหลีกเลี่ยงการโต้แย้งและเตือนความจำของพวกเขา เกี่ยวกับความก้าวหน้าของพวกเขา
4) ข้อเสนอแนะ
ผู้ที่พูดไม่ถูกต้องนั้นจะไม่ได้รับรางวัล แต่ผู้ที่พูดได้อย่างถูกต้องนั้นจะได้รับรางวัลในที่นี้รางวัลอาจจะเป็นเหรียญหรือถ้วยรางวัล

Interview the Experts
( สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ)

ระดับนักเรียน
:มัธยมต้น
สื่อการเรียนรู้
- บทสนทนา
ขั้นเตรียม
1.ครูให้นักเรียน 3คนนั่งหน้าห้อง เพื่อสำรวจความถนัดของตนเองในแต่ละด้าน
2.นักเรียนแต่ละคนคิดหาความชำนาญของตนเอง
กระบวนการ
1.ครูปล่อยให้เด็กคิดหากิจกรรมเองที่เด็กคิดว่าตนเองถนัด ความถนัดนั้นมีหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การทำอาหาร การดูแลรักษารถ การดูแลต้นไม้ แม้กระทั่งในเรื่องเพศศึกษาที่เด็กจะต้องเรียนรู้
2.เด็กจะต้องหาคำถามให้กับตัวเองเกี่ยวกับความถนัดของตน
3.ครูเตรียมคำตอบให้เด็กด้วยในขณะเดียวกันครูก็ต้องเอาประเด็นที่เด็กสนใจที่สุดเอาให้เด็กสนทนา
ขั้นฝึก
1.เด็กพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองชอบ หรือสนใจแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เช่นบางคนชอบทางด้านแฟชั่นด้านการแต่งตัวตามสมัยนิยม เด็กก็สามารถเอาหัวข้อสนทนานี้มาคุยกันกับเพื่อนโดยอาจจะตั้งคำถามได้ คือ
-เสื้อผ้าที่ชอบเป็นเสื้อผ้าลักษณะไหน
-ชอบสีอะไร
ตัวอย่างเช่น
A: เสื้อผ้าสีอะไรที่เป็นที่นิยมในปีหน้า
B: ฉันคิดว่าน่าจะเป็นสีฟ้าไม่พลาดแน่นอน
คำถามที่ใช้ในการสนทนานั้นจะต้องเป็นคำถามพื้นฐานก่อน ใช้คำถามง่ายๆในการแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนเพราะการที่เริ่มจากคำถามง่ายๆจะทำให้คู่สนทนาของเราไม่เกิดความเครียด ช่วยให้ทั้งคู่สนทนาผ่อนคลายด้วย
Prepositions basketball
(เรื่อง Let’s play basketball)
ระดับผู้เรียน :
นร.ชั้นมัธยมต้น
สื่อการเรียนรู้
1. ปากกา ไม้บรรทัด หนังสือ
2. ตะกร้า ลูกบอล
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่1: ครูเลือกตำแหน่งในห้องเรียนเพื่อวางปากกา ไม้บรรทัด หนังสือ ในตำแหน่งต่างๆของห้อง เช่น โต๊ะทำงานของครู มุมของห้อง
ขั้นที่2: ครูสุ่มนักเรียน 1 คน โดยนักเรียนจะโยนลูกบอลใส่ตะกร้า (ซึ่งตะกร้าอาจจะใช้กล่องเล็กๆ หรือกระเป๋าแทนตะกร้าได้) (ส่วนลูกบอลสามารถทำจากกระดาษก็ได้) แล้วให้คนที่โยนพูดเกี่ยวกับ คำบุพบทตามที่ครูวางสิ่งของตามตำแหน่งต่างๆ เช่น The ball is behind the red pen, It’s under the teacher’s desk. เป็นต้น นักเรียนจะได้คะแนนตามที่สามารถพูดได้ไปเรื่อยๆ
ขั้นที่3: . ถ้าหากนักเรียนโยนลูกบอลไม่ตรงตะกร้าแต่สามารถพูดประโยคได้ถูกต้อง จะได้รับคะแนน 1 คะแนน แล้วให้นักเรียนคนอื่นเป็นคนโยนต่อไปจนครบทุกคน
ขั้นที่4 : ครูสรุปคะแนนว่านักเรียนคนใดเป็นผู้ชนะ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ครูสามารถที่จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคลเพื่อทำการแข่งขันกันพูด ซึ่งนักเรียนในวัยนี้นั้น จะชอบกิจกรรการพูดนี้เพราะกิจกรรมนี้เหมาะสมกับพวกเขา
ARM exercises
(เรื่อง Wake up a sleepy class)
ระดับผู้เรียน
: นร.ชั้นมัธยมต้น
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรข้อความ จำนวน 4 ข้อความ ดังนี้
‘Women are the best drivers’
‘Mobile phones should be banned from public spaces’
‘Homework should be optional’
‘Burgers are better than pizzas’
กิจกรรมการเรียนการสอน
ครูให้นักเรียนพูดเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนสนใจของแต่ละคน
ขั้นที่1: ครูนำเสนอบัตรข้อความ จำนวน 4 ข้อความให้นักเรียนดู คือ
‘Women are the best drivers’
‘Mobile phones should be banned from public spaces’
‘Homework should be optional’
‘Burgers are better than pizzas’
ขั้นที่2: ครูขยายข้อความทั้ง 4 ข้อ บนกระดานดำ และอธิบายคำสั่งให้นักเรียนฟัง
ขั้นที่3: โดยครูให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือมีการปรับปรุงแก้ไข ข้อความดังกล่าวตามความคิดของตนเองอย่างไร
ขั้นที่4: นักเรียนตัดสินใจแล้วนักเรียนพูดว่า O.K.แล้วเดินไปรอบๆ ห้อง พยายามหาเพื่อนที่มีความคิดเห็นตรงกันข้าม แล้วจากนั้นนักเรียนพูดคำว่า O.K. อีกครั้งแล้วเดินไปรอบๆห้องหาเพื่อนที่มีความคิดเห็นเหมือนกันจนครบทุกคน
ขั้นที่5: ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือต้องการปรับปรุงแก้ไขข้อความ
ขั้นที่6: นักเรียนรวบรวมความคิดเห็นที่เหมือนกันแล้วจัดเรียงลำดับความคิดใหม่ โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นด้วย กลุ่มไม่เห็นด้วย หรือกลุ่มปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่7: ให้ตัวแทนกลุ่มมานำเสนอความคิดเห็นที่เรียงลำดับสมบูรณ์แล้วให้เพื่อนต่างกลุ่มฟัง ทำเช่นนี้กันจนครบทุกกลุ่ม
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ครูควรมีใบประเมินนักเรียนของแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งครูควรแจกใบความรู้ให้นักเรียน
ดังนั้นหากครูสอนด้วยเทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆในการสอนทักษะการพูดในชั้นเรียนจะทำให้นักเรียนอยากเรียนรุ้เเละการเรียนรู้นั้นก็จะราบรื่นเเละทำไห้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขเเละเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง



No comments: